วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความสินค้าส่งออก

ตลาดน้ำผลไม้ในอิตาลี

        
     การบริโภคผักผลไม้กระป๋องและแปรรูปในอิตาลีมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากชาวอิตาเลี่ยนนิยมบริโภคผักผลไม้กระป๋องและแปรรูปอิตาลีเป็นผู้ผลิตผักผลไม้ดองที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป ในส่วนการน้ำเข้าไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าว มายังอิตาลีเป็นอันดับแรกเมื่อเทียบกับผู้ผลิตรายอื่นในประเทศแถบเอเชีย

การบริโภค
   อิตาลีมีการบริโภคผักผลไม้กระป๋องและแปรรูปเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป (อันดับหนึ่งและสองคือ สหราชอาณาจักรและเยอรมัน ตามลำดับ) ในปี 2552 อิตาลีบริโภคผักผลไม้กระป๋องและแปรรูป 76 กิโลกรัมต่อคน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรป 59 กิโลกรัมต่อคน โดยมีมูลค่าการบริโภคผักผลไม้กระป๋องและแปรรูปรวม (ภาคอุตสาหกรรมและความต้องการของผู้บริโภค) 5 ล้านตันหรือมีมูลค่า 5.5 พันล้านยูโร

การผลิต
   อิตาลีเป็นผู้ผลิตผักและผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรปโดยผลิตได้ 6.4 ล้านตันหรือมูลค่า 6.4 พันล้านยูโรในปี 2552 โดยส่วนใหญ่ผู้ผลิตน้ำส้มเข้มข้น มะนาวและส้ม ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอิตาลีและในเกาะซิซิลี ส่วนผู้ผลิตน้ำแอปเปิ้ลเข้มข้นส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ

แนวโน้มการบริโภค
    ในปี 2552 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอิตาลีเริ่มดีขึ้นเพราะมีการลดราคาสินค้าตาลงตั้งแต่ปี 2551 ทาให้อัตราดอกเบี้ยตาและอัตราเงินเฟ้อลดลง อย่างไรก็ตามหากอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นในช่วง 2553 จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคและรูปแบบการใช้จ่ายเงินชาวอิตาเลี่ยนมีความภาคภูมิใจอาหารอิตาลีและมีความนิยมในอาหารที่ผลิตได้ในประเทศ โดยผู้บริโภคอิตาลีส่วนใหญ่ 80%) มีความเห็นว่า การกินดีอยู่ดีจะช่วยให้สุขภาพดีและมีความสุข โดยชื่นชอบสินค้าที่ผลิตในอิตาลีและเริ่มหันมานิยมบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ร้อยละ 50 ของผู้บริโภคคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาซื้อในภาคเหนือของอิตาลีนาเริ่มนิยมบริโภคน้ำผลไม้มากขึ้น ในขณะที่ในภาคใต้เริ่มบริโภคน้ำหวานเพิ่มขึ้น การบริโภคน้ำที่ผลิตจากผลไม้ (fruit-based drink) และนาผลไม้เป็นไปตามฤดูกาลแต่มีการบริโภคน้ำหวานตลอดทั้งปีเด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักสาหรับน้ำผลไม้ แต่ได้มีการขยายกลุ่มตลาดไปสู่การพัฒนาที่ผลิตจากผลไม้และผลิตภัณฑ์ฟังก์ชั่นมากขึ้นเพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ มีการสร้างความแตกต่างของรสชาติให้มากยิ่งขึ้น แต่น้ำส้ม น้ำลูกแพร์ น้ำลูกพีช และน้ำผลไม้ผสมยังคงเป็นที่นิยมอยู่ 2 ใน 3 ของการบริโภคแนวโน้มการบริโภคน้ำผลไม้นำไปสู่ความหมายแฝงในเรื่องการรักษาสุขภาพด้วย

ความต้องการด้านอุตสาหกรรม
    อุตสาหกรรมนาผลไม้ให้ความสาคัญต่อ end user และน้ำผลไม้เข้มข้นมากที่สุดมีเพียงบางส่วน (ประมาณร้อยละ 5) ของน้ำผลไม้เข้มข้นที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตไอศครีมและเบเกอรี่ กฎระเบียบการน้ำเข้าการส่งออกผลไม้แปรรูปจากไทยมายังอิตาลีจะต้องมีเอกสารประกอบดังนี้ 
    1. ใบรับรองด้านสุขอนามัยที่ออกโดยหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตของไทย  
    2. ใบรับรองแหล่งกาเนิด  
    3. Bill of Landing 
    4. Packing List 5. ใบแจ้งหนี้ (invoice)

การเจาะตลาดอิตาลี
    ควรติดต่อกับผู้นาเข้าโดยตรง (รายชื่อผู้นำเข้าดังแนบ) ตามสถิติพบว่าผลไม้แปรรูปไทยมีโอกาสและลู่ทางสูงในตลาดอิตาลี ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ผลิตผักผลไม้แปรรูปอันดับต้นๆ ในเอเชียโดยเฉพาะน้ำสัปปะรด



วิเคราะห์ SWOT Analysis
S (จุดเด่นหรือจุดแข็ง)
   
  ความสะดวกสบายในการรับประทานซึ่งเราสามารถทานเมื่อไรก็ได้ไม่ต้องมากลัวว่าจะเสียเก็บไว้ได้นานและที่สำคัญสามารถทานนอกฤดูได้ไม่ต้องรอให้ผลไม้ออกตามฤดูการนำไปกินข้างนอกบ้านไดง่าย เช่น การออกไปปิกนิกนอกบ้าน        
  • บ้านชาวอิตาเลี่ยนนิยมบริโภคผักผลไม้กระป๋องแปรรูป อิตาลีบริโภคผักผลไม้กระป๋องและแปรรูป 76 กิโลกรัมต่อคน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรป และเป็นผู้ผลิตผักผลไม้ดองที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป ในส่วนการนำเข้าไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าวมายังอิตาลีเป็นอันดับแรกเมื่อเทียบกับผู้ผลิตรายอื่นในประเทศแถบเอเชีย

W(จุดด้อยหรือจุดอ่อน)

   • ความสดของผลไม้กระป๋องอาจไม่เท่ากับความสดของผลไม้จากสวนโดยตรงตัวกระป๋องทำจากอลูมิเนียมอาจมีสารตกค้างได้ถ้าเก็บไว้นานเกินไป

O (โอกาศ)
    
  • พยายามสร้างรสชาติที่แตกต่างกันกับคู่แข่งขันเพื่อเพิ่มตลาดผู้บริโภคนาผลไม้จากเขตร้อน

T (อุปสรรค)
  
 ชาวอิตาลีเป็นผู้ผลิตรายใหญ่สินค้าน้ำผลไม้เข้มข้น
  • ชาวอิตาลีนิยมบริโภคสินค้าภายในประเทศ

ที่มา : สำนักส่งเสริมการค้าต่างประเทศ ณ กรุงโรม
เวบไซต์ที่เกี่ยวข้อง : http://ethaitrade.com/2010/export-watch/

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการตลาดและการค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ

คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
                การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
                ดังนั้นนักการตลาดที่ต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการก้าวสู่ตลาดระหว่างประเทศจึงควรตอบคำถามพื้นฐานดังต่อไปนี้ ก่อนจะดำเนินการใดๆ ในตลาดระหว่างประเทศ
   1.ธุรกิจจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้คุณค่าที่ธุรกิจสร้างขึ้นมาในรูปของสินค้าหรือบริการสามารถนำเสนอต่อตลาดระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสมตรงกับความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
   2. ธุรกิจต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่มีความจำเป็นต่อตลาดระหว่างประเทศ
   3. อุปสรรคและข้อจำกัดที่เกิดขึ้น เนื่องจากการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในตลาดระหว่างประเทศมีอะไรบ้าง
   4. ธุรกิจจะดำเนินการอย่างไรที่จะเปลี่ยนอุปสรรคในตลาดระหว่างประเทศให้เป็นโอกาส
   5. กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับตลาดระหว่างประเทศ มีอะไรบ้าง 


ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้าสินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก"
โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง
สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ
เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจากความ
แตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศ ไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมาก กว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มี ทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่น
2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศ
จะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร

ประเทศเยอรมัน

เยอรมัน


เศรษฐกิจ
    
   ประเทศเยอรมนีมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นอันดับสามของโลก เยอรมนียังเป็นประเทศที่มีการส่งออกเป็นอันดับสามของโลก  ปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญคืออัตราการจ้างงาน แฟรงค์เฟิร์ต เป็นตลาดที่ใหญ่อันดับที่แปดของเยอรมนีและเป็นหนึ่งในตลาดที่ ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย ตั้งแต่ประวัติของอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมนี ได้รับการควบคุมให้ผู้ริเริ่ม และผู้รับผลประโยชน์ของเศรษฐกิจทั่วโลกมากกว่าที่เคย เยอรมนีเป็นผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของโลกในปี คศ.2002 ถึง ค.ศ.2008 และได้ทำการค้าตลาดร่วมกับจีนในปี 2009 และปัจจุบันผู้ส่งออกใหญ่เป็นอันดับสองและสร้างดุลการค้าใหญ่ ภาคบริการในรอบ 70% ของ GDP รวมอุตสาหกรรม29.1%,0.9% และภาคการเกษตร ผลิตภัณฑ์ของประเทศเยอรมนีส่วนใหญ่อยู่ในด้านวิศวกรรมโดยเฉพาะในอุตสาหกรรม รถยนต์
แหล่งข้อมูลที่นำมา

    - http://th.wikipedia.org/
    - http://www.dhammathai.org/